การวิจัยในยุคใหม่ของแวดวงวิชาการทางการแพทย์และการสาธารณสุขนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการรับรองทางด้านจริยธรรมการวิจัยในคน โดยเฉพาะกรมแพทย์ทหารบก ซึ่งเป็นสถาบันหลักทางการแพทย์ของกองทัพบก มีสถาบันและหน่วยต่างๆ ที่ต้องบริหารให้นโยบาย และกำกับดูแลกิจการต่างๆ โดยเฉพาะการบริการทางการแพทย์และการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพความเข้มแข็งทางวิชาการและการวิจัยให้สู่ความเป็นเลิศ โดยมีสถาบันและหน่วยต่างๆที่สำคัญในด้านวิชาการและการวิจัย ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก สถาบันวิจัยวิทยศาสตร์การแพทย์ทหารกรมแพทย์ทหารบก สถาบันพยาธิวิทยา โรงเรียนเสนารักษ์กรมแพทย์ทหารบก และ โรงพยาบาลในสังกัดส่วนภูมิภาค 36 แห่ง
สำหรับ ”การวิจัย” หากย้อนรอยขึ้นไปก็พบหลักฐานในการแต่งตั้งคณะกรรมการ เกี่ยวกับการพิจารณาโครงการวิจัยในคน และคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรม การวิจัยในคนเพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณาระเบียบวิธีวิจัย จริยธรรมการวิจัย ความเหมาะสมและความ เป็นไปได้ในการทำวิจัย และสนับสนุนทุนการวิจัย
และต่อมาในปี พ.ศ.2539 เพื่อให้ภารกิจด้านการวิจัยมีความเจริญก้าวหน้า เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายการวิจัยของกองทัพบก การส่งเสริมสนับสนุนการวิจัย มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพและสามารถใช้ทรัพยากรการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด พลโทสุจินต์ อุบลวัตร เจ้ากรมแพทย์ทหารบกในขณะนั้นได้แต่งตั้ง คณะกรรมการวิจัยกรมแพทย์ทหารบก คณะอนุกรรมการนโยบายการวิจัย คณะอนุกรรมการนโยบายการวิจัย คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย และคณะอนุกรรมการส่งเสริมและประสานงานวิจัย เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2539 ดังนั้นชื่อของคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย จึงเป็นชื่อที่ใช้ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
คณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัย กรมแพทย์ทหารบก จึงได้มีการพัฒนาปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินการพิจารณาโครงการวิจัยให้ได้มาตรฐานตามหลักสากล เหมาะสมกับสถาบัน และตระหนักถึงจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ โดยนำหลักเกณฑ์ของ World Medical Association : DELCARATION OF HELSINKI , GUDELINE FOR GOOD CLINICAL PRACTICE : ICH Harmonised Tripartite Guideline , Council for International Organizations of Medical Sciences (CIOMS) , CODE of FEDERAL REGULATIONS : Title 45 Public Welfare; Part 46 Protection of Human Subjects, The Belmont Report และแนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนแห่งชาติ มาประยุกต์ใช้ในการพิจารณาโครงการวิจัย โดยต้องมีความเคารพในบุคคล (respect for person) มีคุณประโยชน์และไม่ก่ออันตราย (Beneficence) และความยุติธรรม ( Justice)
พ.ศ.2545 กรมแพทย์ทหารบก ได้อนุมติให้จัดตั้งสำนักงานพิจารณาโครงการวิจัย กรมแพทย์ทหารบก ซึ่งตั้งอยู่ ณ ชั้น 5 อาคารพระมงกุฎเกล้าเวชวิทยา วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า และอนุมัติให้คณะอนุกรรมการใช้ ”การดำเนินการมาตรฐาน พ.ศ.2545” เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญและแนวทางปฏิบัติของคณะอนุกรรมการที่เป็นมาตรฐานในการแต่งตั้งกำหนดโครงสร้างและหน้าที่ เงื่อนไขต่างๆ ตลอดจนแนวทางในการยื่นโครงร่างการวิจัยเพื่อพิจารณาโดยเฉพาะการวิจัยและการทดลองในมนุษย์เป็นฉบับแรก และปัจจุบันคือฉบับที่ 5 (2551)
พ.ศ.2548 กรมแพทย์ทหารบก ได้อนุมัติแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการวิจัยเสริม (Alternate member)
พ.ศ.2551 กรมแพทย์ทหารบกได้อนุมัติแต่งตั้งที่ปรึกษาอิสระสำหรับการพิจารณาโครงร่างการวิจัย ซึ่งเป็นข้าราชการในสังกัดกรมแพทย์ทหารบก
คณะอนุกรรมการ และสำนักงานได้การรับรองคุณภาพและรางวัล
พ.ศ.2548 ได้การรับรองคุณภาพจากThe Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review & Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific
พ.ศ.2552 ได้การรับรองคุณภาพต่อเนื่องครั้งที่ 1 จากThe Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review & Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific
พ.ศ.2553 ได้รับรางวัล PReMA’s TOP IRB 2010
พ.ศ.2555 ได้การรับรองคุณภาพต่อเนื่องครั้งที่ 2 จากThe Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review & Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific
พ.ศ.2559 ได้การรับรองคุณภาพต่อเนื่องครั้งที่ 3 จากThe Strategic Initiative for Developing Capacity in Ethical Review & Forum for Ethical Review Committees in Asia and the Western Pacific